หากพูดถึงอาการยอดฮิตของมนุษย์วัยทำงาน คงหนีไม่พ้น “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้หลายคนกำลังตกอยู่ในภาวะ Office Syndrome โดยไม่รู้ตัว
เมื่อ Office Syndrome เป็นอาการที่มาพร้อมกับการทำงาน แต่จะไม่ทำงานก็ไม่ได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก Office Syndrome ให้มากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม ป้องกัน Office Syndrome เรื้อรังในอนาคต
Office Syndrome คืออะไร?
Office Syndrome ไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง พบบ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่มักอยู่ในอิริยาบถการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อมัดเดิมถูกใช้งานอย่างหนัก สิ่งที่ตามมา คืออาการปวดเมื่อยตามบริเวณต่าง ๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง หรือข้อมือ เป็นต้น
Office Syndrome เกิดจากอะไร?
สาเหตุของ Office Syndrome หลัก ๆ แล้ว เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การก้มหน้านาน ๆ การนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ เกิดการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา จนเกิดอาการปวดตามมาในที่สุด
Office Syndrome อาการเป็นอย่างไร?
ลองสังเกตอาการตนเองเบื้องต้น หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังเข้าข่าย Office Syndrome
- ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก เป็นต้น โดยปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ ระบุตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้
- ปวดร้าวขึ้นศีรษะ หูอื้อ หรือปวดร้าวลงขา
- มีปัญหาไหล่งุ้ม คอยื่น
- ปวดกระบอกตา ตาพร่า ตาล้า
- นิ้วล็อก
- ปวดข้อศอก ข้อเท้า เข่า หรือข้อมือ
- อาการที่เกิดจากเส้นประสาทกดทับ เช่น เหน็บชา นิ้วชา แขนชา เป็นต้น
ใครเสี่ยงเป็น Office Syndrome
ขึ้นชื่อว่า Office Syndrome ดังนั้นกลุ่มที่มีโอกาสเป็น Office Syndrome มากที่สุด คือ เหล่าพนักงานออฟฟิศ ที่วัน ๆ หนึ่งหมดไปกับการนั่งทำงานหน้าจอคอม แทบไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย อย่างไรก็ตาม Office Syndrome ไม่ได้จำกัดเพียงพนักงานออฟฟิศเสมอไป กลุ่มคนที่ใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ ก็เสี่ยงเป็น Office Syndrome ได้เช่นกัน เช่น ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ นักกีฬา แม่บ้าน คนทำขนม ที่ต้องใช้มือในการทำงานมาก ๆ เป็นต้น
วิธีป้องกัน Office Syndrome
กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ หากสำรวจตนเองแล้วพบว่า มีอาการ Office Syndrome ระยะเริ่มต้น เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ อาการก็ทุเลาลง แนะนำให้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุของ Office Syndrome ดังนี้
1. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน
สภาพแวดล้อมที่ดีควรมีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอ จะช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตา คีย์บอร์ดให้อยู่ในระยะที่แขนเอื้อมถึง และเลือกเก้าอี้ทำงานให้รับกับสรีระ ปรับระดับความสูงได้
2. จัดท่านั่งทำงานให้เหมาะสม
ท่านั่งทำงานที่เหมาะสม คือนั่งหลังตรง ไม่นั่งหลังค่อม ไม่ห่อไหล่ หัวไหล่ไม่ยกขณะทำงาน ซึ่งไม่เพียงช่วยลดอาการปวดหลังเท่านั้น แต่ยังทำให้บุคลิกดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ควรเปลี่ยนท่านั่งทุก 1-2 ชั่วโมง หรือตอนเริ่มรู้สึกปวดเมื่อย จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและสมองได้
3. พักสายตาระหว่างวัน
ไม่เพ่งหน้าจอมคอมพิวเตอร์นาน ๆ เพราะจะทำให้ตาล้า ปวดกระบอกตา และปวดศีรษะได้ ดังนั้นควรพักสายตาระหว่างวันทุก ๆ 1 ชั่วโมง และใช้เวลานี้ไปเดินยืดเส้นยืดสาย เดินสูดอากาศด้านนอกบ้าง เพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง
4. ออกกำลังกาย
หาเวลาว่างสำหรับออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน โยคะ เป็นต้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นขึ้น และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีรักษา Office Syndrome
สำหรับรายที่มีอาการมาก ๆ ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร อาการก็ยังไม่ดีขึ้น นี่คือสัญญาณเตือนว่า Office Syndrome กำลังเข้าสู่ระยะเรื้อรัง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการรักษาทางการแพทย์มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การนวดแผนไทย หรือการฝังเข็ม เป็นต้น
จบปัญหา Office Syndrome ที่ Mediwelle
โปรแกรมรักษาอาการ Office Syndrome ที่ Mediwelle ผสมผสานวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) ช่วยฟื้นฟูและรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจาก Office Syndrome ได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็น ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ หรือปวดไมเกรน รักษาโดยแพทย์แผนจีนเฉพาะทางทุกเคส เพื่อมอบผลลัพธ์หลังการรักษาที่ดีที่สุด
ในโปรแกรมประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน
- Acupuncture – การฝังเข็มบำบัดตามศาสตร์แผนจีน โดยใช้เข็มขนาดเล็กฝังไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ปลอดภัย เจ็บน้อย ไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- Electro-acupuncture – การใช้คลื่นไฟฟ้าร่วมกับการฝังเข็มเพื่อกระตุ้นการคลายตัวของกล้ามเนื้อและสลายปมกดเจ็บอย่างปลอดภัย
- Infared heat lamp – การใช้ความร้อนจากโคมอินฟราเรด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือกและลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
- Cupping – การครอบแก้วด้วยเทคนิคการครอบแก้วผสมผสาน เพื่อลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- Tuina Chinese Herb Bag – การประคบร้อนด้วยถุงสมุนไพรจีนสูตรเฉพาะของ Mediwelle ที่จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และลดอาการปวดได้อย่างเห็นผล
รีวิวรักษา Office Syndrome ที่ Mediwelle
แม้ Office Syndromeไม่ได้ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้นาน อาจเป็นอาการเรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่เราได้แนะนำไปข้างต้น หรือรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและทำการรักษาก่อนพัฒนาไปเป็นการปวดแบบเรื้อรัง ซึ่งทำการรักษาได้ยากขึ้น สำหรับใครที่สนใจโปรแกรมรักษา Office Syndrome ที่ Mediwelle สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Mediwelle 02-253-2465 หรือทาง Line เราพร้อมให้คำปรึกษา รักษาและฟื้นฟูครอบคลุมทุกอาการด้วยมาตรฐานระดับสากล